วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์ “เมืองเก่าน่าอยู่ เคียงคู่เมืองเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนา ๑. ส่งเสริมการปลูกข้าวนาปรัง ข้าวนาปี และพืชสวน ๒. สนับสนุนการพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมและนวัตกรรมในพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยังยืน แนวทางการพัฒนา ๑. โครงสร้างพื้นฐานเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานและให้ทั่วถึง ๒. พัฒนาพื้นที่สีเขียวและปรับปรุงภูมิทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสม ๓. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ สร้างศักยภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แนวทางการพัฒนา ๑. ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในชุมชนท้องถิ่นและยกระดับทักษะประชาชนในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๒. พัฒนาส่งเสริม การพาณิชย์ การลงทุน และการท่องเที่ยว ๓. อนุรักษ์ สืบสาน ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๔. พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนระบบการรักษาความปลอดภัยในชุมชนแบบมีส่วนร่วม ๕. พัฒนาประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน ๖. ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในท้องถิ่น ๗. พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมและหลากหลาย ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาการศึกษาและการกีฬา แนวทางการพัฒนา ๑. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาพื้นฐานในระบบให้ได้มาตรฐานและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ๒. เพิ่มโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัยอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ๓. เพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์แก่เด็กและเยาวชน กิจกรรมจิตอาสา เพื่อการใช้ทักษะชี้วัดที่ดี เห็นคุณค่าตนเองและสังคม ๔. พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ มุ่งสู่การเป็นนักกีฬามืออาชีพและนันทนาการเพื่อออกกำลังกาย ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา ๑. การบริหารจัดการ อนุรักษ์พื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการและยั่งยืน ๒. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่า ป่าชุมชน และป่าต้นน้ำลำธารให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ๓. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย ๔. สร้างสังคมและพลเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การเสริมสร้างสุขภาวะ แนวทางการพัฒนา ๑. สนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) และพัฒนารูปแบบการบริหารประชาชน ๒. เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อ โรคอุบัติใหม่ และการแพร่ระบาดในพื้นที่ และพัฒนาระบบส่งต่อร่วมกับหน่วยบริการที่มีคุณภาพ ๓. พัฒนาระบบบริการทางสังคมให้คุณภาพและเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ๔. พัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขให้มีคุณภาพและเข้าถึงได้ ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การพัฒนาบริหารภาครัฐ แนวทางการพัฒนา ๑. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่ในการปฏิบัติงานและบริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง ๒. พัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรให้เพิ่มขึ้นและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ๓. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและความโปร่งใส
เป้าประสงค์ ๑. ด้านการเฝ้าระวังโรค การป้องกันโรค การควบคุมโรค และการช่วยเหลือประชาชน หรือบรรเทาความเดือดร้อนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) และได้รับการบริการสาธารณสุขอื่นๆ อย่างทั่วถึง
ค่าเป้าหมาย ๑. มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ๒. ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีสุขภาพแข็งแรง ๓. ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพด้านเกษตร ๔. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๕. การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง ๖. ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ๗. ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการของท้องถิ่น ๘. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาธรรมาภิบาลดีขึ้น ๙. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๑๐. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์
|